Tuesday, September 20, 2016

โฮมสคูล ตอน อยากสอนให้ลูกเก่ง เริ่มยังไงดี




ตอนนี้ สรุปเนื้อหาจากบทที่ 7 ในหนังสือ Homeschooling For Success 

     ชื่อบทว่า Finding Your Child's Special Genius ซึ่งนัยว่า

 เด็กทุกคนมีอัจฉริยภาพในตัวเอง งานของพ่อแม่ คือ ช่วยหาให้เจอด้วย 


Image result for film maker kid

เมื่อช่วงต้นยุค 1950s  เด็กผู้ชายคนหนึ่งอยากจะได้รางวัลแถบติดเสื้อลูกเสือเพิ่มจากรร. เลยคิดจะทำกิจกรรมถ่ายหนัง พ่อก็ซื้อกล้องถ่ายวิดีโอที่เรียกว่า ซุปเปอร์ 8 ให้ เสร็จแล้วก็พลันเกิดไอเดียอยากถ่ายหนังสยองขวัญแบบนองเลือด แม่ก็เลยบอกว่า งั้นเดี๋ยวต้มเชอร์รีกระป๋องให้ สีแดง ข้นๆ เหมือนเลือด  ยืนต้มหมดไปสามสิบกว่ากระป๋อง.....

ไม่กลัว ลูกทำเลอะ ไม่ได้บ่นว่างานยุ่งไม่มีเวลา หรือ ไล่ให้ไปทำอย่างอื่นที่ง่ายกว่านี้ไหม 
แต่พ่อแม่กระโจนลงไปช่วยเต็มตัว ย้ายเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน เพื่อจะมีที่ถ่ายหนัง
 ช่วยทำฉาก หาเสื้อผ้านักแสดง แถมแม่ยังช่วยแสดงด้วยอีกต่างหาก..อุตส่าห์
พาขับรถไปหาทะเลทรายเพื่อเข้าฉาก.....เรื่องนี้แม่เล่าต่อมาอีกหลายสิบปี

 เพราะลูกชายชื่อ สตีเว่น สปีลเบิร์ก......

                             

   พอจะเห็นภาพบ้างแล้วรึยังคะ...


หนังสือเล่มนี้พูดถึงสไตล์การเรียนรู้ของเด็ก ความสนใจ อัจฉริยภาพ ความสามารถพิเศษ 

และความรักหลงใหลในสิ่งต่างๆ เยอะแยะเต็มไปหมด แต่ตอนนี้ลองลืมเรื่อง ความสำเร็จ ก่อน 



Image result for baby

     ลองนึกถึงภาพตอนที่ลูกเพิ่งเกิด..

  ตอนที่คุณมองดูทารกคนนี้ 
          
  ตั้งแต่เส้นผมจนถึงนิ้วเท้าเล็กๆ 





สิ่งที่คุณคิด คือ เด็กคนนี้เป็นคนพิเศษจริงๆ 

ใช่!  เด็กมีความพิเศษในตัวเอง 

สิ่งที่พ่อแม่ควรต้องทำ ก็คือ จัดการศึกษาให้ลูกในแบบที่เห็นถึงความพิเศษเฉพาะตัวเขา  

โดยเริ่มต้นที่..
             
                    การค้นหาสไตล์การเรียนรู้ของเด็ก! 


ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า  สไตล์การเรียนรู้ ไม่ใช่ ความฉลาด (Intelligence) 

สไตล์การเรียนรู้ คือ วิธีการว่าเด็กรับรู้ข้อมูลต่างๆ อย่างไร เป็นวิธีการเฉพาะตัวตั้งแต่เกิด 

ไม่เปลี่ยนแปลง 


ส่วน ความฉลาด คือ สิ่งต่างๆ ที่เด็กรู้ ซึ่งเปลี่ยนแปลง ขยายเพิ่มเติมไปตลอดชีวิต


สไตล์การเรียนรู้เป็นเหมือนประตูธรรมชาติที่เด็กใช้เปิดเพื่อเข้าสู่โลกแห่งกระบวนการเรียนรู้

ถ้าพ่อแม่เข้าใจว่าประตูบานไหนเหมาะกับลูก...ก็จะช่วยเปิดประตูการเรียนรู้ได้กว้างและดียิ่งขึ้น

สังเกตและค้นหาว่า ประตูไหนที่เหมาะกับลูก แล้วพูดคุยกับลูกเรื่องนี้...เพื่อว่า

 เด็กจะเลือกสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ที่เหมาะกับสไตล์การเรียนรู้ของเขาเองได้...


             นี่คือ การสร้างพื้นฐานให้ลูกกลายเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learner) 

โดยพื้นฐาน สไตล์การเรียนรู้มี 3 แบบ ได้แก่ 

auditory (ฟังเสียง) visual (มองเห็น) และ kinesthetic (จับต้อง)  

กลุ่ม auditory  เรียนรู้ได้ดีจากการฟังและการพูดคุย ชอบฟังเพลง เข้าใจเวลาฟังขั้นตอน หรือ ชอบฟังเรื่องเล่า เวลาฟังนิทานจะกระตือรือร้น อยากถามแทรกเพราะรอจนจบแทบไม่ไหว 


กลุ่ม kinesthetic  เรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัส จับต้องและเคลื่อนไหวร่างกาย ชอบจับต้องทุกสิ่งอย่างที่สนใจ ชอบสร้าง ชอบทดลองทำสิ่งต่างๆ โดยใช้มือ (hands-on learner) สนุกเวลาได้สำรวจของจริงจากสิ่งที่เรียน ได้จับต้อง ทดลอง 


กลุ่ม visual  เรียนรู้ได้ดีจากการมองเห็นและการสังเกต นึกภาพสิ่งที่กำลังเรียนรู้ได้ในหัวและมักคิดอะไรเป็นภาพ ถ้าถามเรื่องที่กำลังสนใจอยู่ ก็มักจะเล่าไม่ถนัดต้องหยิบกระดาษ ดินสอมาวาดให้ดู มีจินตนาการภาพชัดเจนและมักเห็นภาพในหัวก่อนที่จะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ มีแรงบันดาลใจจากการอ่าน การเขียน งานศิลปะและสื่อจำพวกกราฟทั้งหลาย (คนแปลก็เพิ่งรู้ว่าตัวเองเป็น visual) 



            Image result for visual learner

              "สังเกตว่าโดยธรรมชาติแล้ว ลูกชอบทำอะไร หรือ 
                                อะไรที่มักดึงดูดความสนใจ" 

เช่น ลูกสาวชอบนั่งฟังคุณแม่อ่านนิทาน ชอบฟังเพลงหรือฮัมเพลงบ่อยๆ   เวลาฟังพ่อแม่แล้วเข้าใจ และสื่อสารกลับมาได้ดีไหม... ถ้าประมาณนี้ ก็น่าจะเป็นกลุ่ม auditory 

หรือ ลูกชายอาจจะชอบสร้าง เล่นดินน้ำมัน ต่อเลโก้ได้นานๆ  ชอบใช้มือและร่างกายเคลื่อนไหว ไม่ชอบอยู่นิ่งนานๆ ชอบเต้น ชอบเคลื่อนไหวร่างกาย   อย่างนั้นก็น่าจะเป็นกลุ่ม kinesthetic

ลูกไม่ค่อยอดทนนั่งฟังอะไรได้นานๆ ไหม หรือ เผลอแป๊บๆ ก็คว้ากระดาษ ดินสอมาวาดรูป เป็นเรื่องเป็นราว ชอบจ้องมองดูภาพที่สนใจ และมักมองอะไรมานั่งดูเล่นประจำ ถ้าใช่ก็น่าจะเป็น visual พวกคิดอะไรเป็นภาพ 
(ลูกชายคนแปลชอบบาสเก็ตบอล ขอดูคลิป NBA ทุกวันแล้วเลียนแบบ ชอบลองหลับตาชู้ตลูกบาสเพราะจำภาพได้ว่า ห่วงอยู่ตรงไหน ) 


               "ลูกมักจะเข้าไปหา หรือ เรียนรู้สิ่งที่สนใจอย่างไร  

                    จับต้อง มองดู หรือ ฟังเสียง" 


เมื่อพอได้คำตอบแล้ว ก็ใช้ความรู้นี้ เวลาที่อยากให้ลูกเรียนรู้สื่อ หรือ ทักษะใหม่ๆ 

หาอุปกรณ์และกิจกรรมการเรียนรู้วิชาต่างๆ ให้เหมาะสมกับสไตล์การเรียนรู้ของลูก 

และเมื่อประตูบานเก่งเปิดออก...เราจะเห็นลูกวิ่งเข้าไปสู่ทุ่งกว้างแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุขค่ะ  





Image result for kinesthetic learning




Credit: Homeschooling for Success 


ตอนต่อไป เป็นเรื่องการค้นหาและส่งเสริมอัจฉริยภาพของลูกกันค่ะ  
  

Friday, September 16, 2016

โฮมสคูล ตอน จัดระเบียบบ้านก่อนเตรียมลุย!

สิ่งที่คนมักจะคิดถึงโฮมสคูล คือ การเรียน
แต่ที่มักมองข้ามไป ก็คือ การจัดระเบียบบ้าน


ถ้า คุณกำลังสอนลูกที่บ้าน คุณก็กำลังใช้ "บ้าน" เพื่อเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและโรงเรียนย่อมๆ
ซึ่งหมายถึงว่า ข้าวของเครื่องใช้จะมากขึ้นด้วย 
           
การจัดระเบียบทั้งบ้านและชีวิตจึงเป็นสิ่งท้าทายและจำเป็น! 

ต่างกับครอบครัวที่ส่งเด็กไปโรงเรียน พ่อแม่ออกไปทำงานนอกบ้าน 
ครอบครัวบ้านเรียนใช้บ้านเพื่ออยู่ เพื่อเรียนและบางครั้งเพื่อทำงานอีกต่างหาก 


Image result for activity table for homeschooler

การจัด 
มุมต่างๆ ในบ้านเพื่ออุทิศให้กับเด็ก เช่น มุมอ่านหนังสือ 

โต๊ะทดลองวิทยาศาสตร์หรือทำงานศิลปะเป็นสิ่งจำเป็นทั้งกับเด็กและคนในบ้าน

การจัดบ้านให้เรียบร้อยไม่ได้ส่งผลดีเฉพาะความสะดวกสบาย 
ต่ดีกับจิตใจและการเรียนรู้ของเด็กด้วย

อย่างไรก็ตาม  

"การจัดบ้านควรสะท้อนถึงความจำเป็นและสิ่งที่เราให้ความสำคัญ"


 คำแนะนำในการจัดบ้านสำหรับครอบครัวโฮมสคูลจาก OrganizedHome.com และ About.com สรุปได้ดังนี้ค่ะ 


  •  ลดมาตรฐานในใจลงก่อนเลย! เพราะคุณไม่ได้จัดบ้านเพื่ออวดใคร เน้นเฉพาะสิ่งที่สำคัญๆ เช่น มีพื้นที่สอนลูก เรื่องไหนไม่สำคัญก็ปล่อยไปบ้าง เราไม่ใช่ซุปเปอร์แมนค่ะ การวุ่นวายกับเรื่องจุกจิกตลอดเวลาไม่ดีแน่ๆ 

  • วางแผนทำงานบ้านไว้ด้วย ทำกับข้าว กวาดบ้านถูบ้าน ซักผ้า อาจมีตารางคร่าวๆ ให้ชีวิตไม่ยุ่งยากและจัดการได้ทุกวัน อะไรที่ต้องทำเอง อะไรที่ลูกช่วยได้ก็ให้ช่วย เช่น ทำอาหารเช้าง่ายๆ เป็นต้น 

Image result for teen cooking
  • ให้ลูกช่วย อย่าคิดว่า ภาระการโฮมสคูลและการดูแลทุกเรื่องในบ้านต้องเป็นเราอย่างเดียวค่ะ ในความเป็นจริง ลูกมีเวลามากกว่าเรา เด็กควรเรียนรู้จากการเริ่มดูแลตัวเองก่อน เด็กโตควรช่วยดูแลน้องได้ เด็กวัยรุ่นควรออกไปซื้อของให้แม่ และจ่ายบิลต่างๆ ได้ เด็กทุกวัยเริ่มหัดพับผ้าของตัวเองได้ด้วย!  บ้านที่จัดระบบเรื่องนี้จะโฮมสคูลได้ราบรื่น

  • จัดบ้านเรียบร้อยก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียน สอนให้เด็กรู้จัก "เริ่มต้นวันใหม่" ด้วยการพับผ้าห่มให้เรียบร้อย ช่วยเก็บบ้าน และจัดการตัวเองให้เรียบร้อยก่อน เพราะหลังจากนั้น คุณจะไม่ต้องพะวงกับสิ่งเหล่านี้อีก

  • กำจัดขยะ สิ่งใดที่ไม่ได้ใช้มาพักใหญ่ เช่น สองเดือนขึ้นไป ควรส่งต่อให้คนอื่นหรือทิ้งเสีย หนังสือ อุปกรณ์การเรียนก็ด้วย ถ้าลูกไม่ใช้แล้ว คุณอาจขายต่อหรือบริจาคได้


  • จัดที่สำหรับทุกสิ่ง เช่น ชั้นวางอุปกรณ์ศิลปะ ตู้หนังสือ บางบ้านแจกกล่องให้ลูกแต่ละคนแยกกัน บางบ้านแยกของตามวิชา สื่อที่เป็นพวกแฟลชคาร์ด กระดาษ ดินสอพู่กัน ควรเก็บใส่กล่องที่หยิบใช้ง่ายและทำให้ไม่รกสายตา

    Image result for activity table for homeschooler
  • ใช้กล่องใสเพื่อเก็บพวกเกมส์ หรือตัวต่อเลโก้ เพื่อให้มองเห็นง่ายว่าอยู่ตรงไหน

  • ตั้งเวลาให้สมเหตุสมผล กับกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะทำงานบ้าน เรียนหรือทำธุระ จำไว้ว่า คุณมีเวลาไม่ต้องเร่งรีบเพราะกลัวว่าจะทำอะไรไม่ทัน









  • จัดพื้นที่เพื่อโฮมสคูลไว้เลย อาจจะมีห้องหนึ่งในบ้านหรืออุทิศโต๊ะใหญ่สักตัว เลือกส่วนที่เงียบและมีแสงสว่างมากพอ มีที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆ ให้หยิบง่าย 

    • เลือกช่วงเวลาในการทำ 3 R ( คือ reading การอ่าน, writing การเขียนและ arithmetic คณิตศาสตร์) ที่เด็กรู้สึกสดชื่นตื่นตัว ถ้าเป็นไปได้ควรทำกิจกรรมเหล่านี้ตัวต่อตัว ถ้ามีเด็กโตกับเด็กเล็ก อาจเลือกสอนเด็กโตตอนที่เด็กเล็กนอนหลับกลางวัน หรือ แยกกันเงียบๆ คนละมุมก็ได้ 

    • สุดท้าย ยืดหยุ่นค่อย่าปล่อยให้ตารางหรือแผนที่เขียนไว้ทำให้เครียด เพียงใช้แผนเป็นแนวทางคร่าวๆ เพื่อให้ชีวิตประจำวันราบรื่น รีแลกซ์และมีความสุขสนุกสนานกับทั้งตัวเองและลูกๆ นะคะ  


                             " จัดบ้านให้ดีกับสมองและจิดใจปลอดโปร่งได้อย่างไร เชิญชมคลิปได้ค่ะ "