Tuesday, June 28, 2016

บทที่ 1 โรงเรียนในอุดมคติ

                                    มองภาพโรงเรียนโดยทั่วไปก่อน 

โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยภาครัฐ หรือ เอกชน (บริบทประเทศอเมริกา แต่ฟังดูเหมือนประเทศไทย) 
ที่มีนักเรียนจำนวนมากต่อชั้น ใช้หลักสูตรมาตรฐานเดียว การศึกษาแบบนี้ออกแบบมาจากหลักการโรงงานอุตสาหกรรม  เพื่อสอนคนให้มาทำงานตามสายพาน เกิดขึ้นในยุคอุตสาหกรรม   
สาเหตุเพราะว่าในขณะนั้น อเมริกาต้องการคนงานหลายล้านคนเพื่อทำงานด้านการผลิตในโรงงาน  

ดังนั้น โรงเรียนก็ต้องออกแบบเพื่อสอนให้คนทำตามคำสั่งได้ ไม่ต้องถามมากให้เสียเวลา 
เป้าหมายการศึกษาในโลกยุคเก่า คือ การสร้างพลเมืองที่ทำอะไรตามๆ กันได้ (conformist citizen)

แต่ในโลกยุคใหม่ ต้องให้ความสำคัญกับปัจเจกบุคคล ความคิดสร้างสรรค์และความมีเอกลักษณ์                                                 

สมองของเราต้องการเรียนรู้มากกว่าแค่จากกระดาษแบบฝึกหัด และแค่ฟังครูยืนเลคเชอร์ สองอย่างนี้ครอบคลุม คำว่า การเรียนรู้ แค่ไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ

ดร.โทมัส อาร์มสตรอง 


                 

  

 โรงเรียนในอุดมคติ ในสายตาของนักการศึกษา มีลักษณะเป็นยังไง


ครูต้องให้ความสำคัญกับนักเรียนแต่ละคนแบบปัจเจก
  • รู้จักจุดแข็ง จุดอ่อน และพัฒนาการในการเรียนรู้ของแต่ละคน
  • สนใจนักเรียนแต่ละคน นักเรียนรู้สึกมีคุณค่า เกิดความมั่นใจและมีแรงจูงใจ 
  • รู้ว่าแต่ละคนควรเรียน  เพิ่มทักษะตรงไหนบ้าง
  • ต้องปกป้องนักเรียนไม่ให้ต้องถูกตำหนิวิจารณ์ เนื่องจากการต้องทำสิ่งที่เด็กยังไม่พร้อม 
  • ต้องรู้จักเรื่องราวความเป็นมาและเป็นไป ความสนใจ และเป้าหมายของนักเรียน 
 แต่ถ้านักเรียนปาเข้าไป 40 คนต่อห้อง ครูจะให้ความสำคัญกับนักเรียนแบบปัจเจกได้ยังไง


ในโลกยุคใหม่ เด็กต้องเจอสิ่งใหม่ที่เราเองยังนึกภาพยังไม่ออก ทั้งรูปแบบธุรกิจ เทคโนโลยีใหม่ๆ

ทักษะที่จำเป็นมาก คือ ความคิดสร้างสรรค์และการมีตัวตน มีเอกลักษณ์ของตัวเอง 
             ทั้งในเชิงธุรกิจและการสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง





แล้วการศึกษาแบบไหนจะช่วยให้มีทักษะเหล่านี้ได้ล่ะ 

ไม่ใช่แบบโลกยุคเก่าที่สร้างให้คนคิดแบบเดียวกัน ทำงานซ้ำๆ
แต่เป็นการศึกษาที่ให้คุณค่ากับคนแต่ละคนเป็นปัจเจก

คือการเรียนที่เหมาะกับเอกลักษณ์เฉพาะตัว หรือ การศึกษาออกแบบเฉพาะ (customized education)



"การศึกษาที่เห็นความสำคัญของ ความแตกต่างของมนุษย์อย่างจริงจังและมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ต้องช่วยให้คนที่มีจิตใจ ความคิด ความรู้สึกหลากหลาย แตกต่างกันได้รับการพัฒนา" 


                        ดร.ฮาเวิร์ด การ์ดเนอร์ นักจิตวิทยาแห่ง ม.ฮาวาร์ด 



                  พันธกิจของโรงเรียนในอุดมคติ

  • วิธีเรียนรู้ของเด็กไม่เหมือนกัน และสื่อการสอนจะเหมาะกับวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคน 
  • ดู "ความพร้อมของเด็กแต่ละคน" ก่อนจะเริ่มการเรียนรู้เรื่องต่างๆ 
  • เน้นให้เด็กทำสิ่งที่ตัวเองมีความสนใจ 
  • เน้นให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือทำ 
  • เด็กๆ จะมีเวลาได้เล่นและได้ทำตัวเป็น "เด็ก" 
  • เด็กจะได้รับการส่งเสริมให้ทำสิ่งที่ตนเองรัก 
  • จะค้นหาอัจฉริยภาพ หรือ ความเก่งเฉพาะตัวของเด็กให้พบและบำรุงให้เจริญงอกงามต่อไป 

                     โรงเรียนในอุดมคติเช่นนี้ ยังไม่มี (ในอเมริกา) ในประเทศไทย 
                      แต่ครอบครัวสร้างโรงเรียนในอุดมคติแบบนี้ได้เองที่บ้าน 


ในโลกสมัยเก่า  พ่อแม่ยังไม่มีความรู้มากและเรื่องง่ายๆ อย่างอ่านหนังสือ หรือ สุขภาพ 
ก็มักจะต้องให้ "ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้" ช่วยอยู่เสมอ มีความกลัวเพราะไม่มีความรู้ 

ถึงปัจจุบันนี้ สังคม (และธุรกิจต่างๆ) ก็ยังทำให้พ่อแม่ยังเชื่ออยู่ว่า  "ไม่รู้มากพอ ไม่เก่งพอ" จะสอนลูก  

แต่ความจริงก็คือ ในปัจจุบันนี้ พ่อแม่มีความรู้มากขึ้น เรามีแหล่งข้อมูลดีๆ มากมายที่จะช่วยสอนลูก
  
          สำคัญที่สุดก็คือ เรามีสัญชาตญาณปรารถนาจะช่วยให้ลูกเรียนรู้สิ่งต่างๆ 

สถิติทางการศึกษาต่างๆ พิสูจน์แล้วว่า
เด็กที่โฮมสคูล เมื่อกลับเข้าระบบทำคะแนนได้สูงกว่าเด็กทั่วไป 

(ข้อมูลจากงานวิจัยของ ลอเรนซ์ รัดเนอร์ ม.แมรี่แลนด์ ปี 2000) 

           

จงจำไว้ว่า....     คุณเป็นครูคนแรกและเป็นครูที่ดีที่สุดในชีวิตของลูก 

เด็กทุกคนมีพรสวรรค์ ความถนัดเฉพาะตัวใช้สิ่งนี้เป็นหลักเพื่อการช่วยลูกให้บรรลุเป้าหมาย 








     


เครดิต: Homeschooling for Success








           

No comments:

Post a Comment